เซิร์ฟเวอร์ GIGABYTE ร่วมมือกับพันธมิตรด้านการระบายความร้อนด้วยของเหลวแบบแช่ มอบประสิทธิภาพระดับสูงขึ้นไป
Aug 30, 2022

30 สิงหาคม 2022 – GIGABYTE Technology, (TWSE: 2376) ผู้นำในอุตสาหกรรมเซิร์ฟเวอร์และเวิร์กสเตชันประสิทธิภาพสูง ประกาศเปิดตัวคลื่นลูกแรกของ GIGABYTE เซิร์ฟเวอร์ ที่ออกแบบมาเพื่อการระบายความร้อนแบบแช่เฟสเดียว (single-phase immersion cooling) โดยร่วมกับพันธมิตรด้านเทคโนโลยี ได้แก่ Asperitas, GRC, และ Submer ความหนาแน่นของแร็คที่เพิ่มขึ้นเพื่อการประมวลผลที่มากขึ้นและความร้อนที่ตามมาได้นำไปสู่แนวทางใหม่ในการระบายความร้อน GIGABYTE เป็นผู้บุกเบิกในอุตสาหกรรม HPC และได้พบความท้าทายด้านความร้อนที่ได้คาดการณ์ไว้เป็นเวลานานแล้ว เซิร์ฟเวอร์ใหม่เหล่านี้และความร่วมมือของเราเปิดโอกาสให้ลูกค้าทั่วโลกได้ก้าวออกจากระบระบายอากาศแบบเดิมในการระบายความร้อนของศูนย์ข้อมูล และเพลิดเพลินไปกับประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมของการทำความเย็นแบบแช่ในขณะเดียวกันก็ผลักดันขอบเขตที่เกี่ยวข้องกับความหนาแน่นของพลังงานที่เพิ่มขึ้นต่อแร็คออกไป

▲ G292-280
▲ H262-Z6B
▲ S251-3O0

เราอยู่ในจุดเปลี่ยนของศูนย์ข้อมูล และเราต้องสำรวจโครงสร้างพื้นฐานใหม่เพื่อรองรับความร้อนที่เพิ่มขึ้นจากความต้องการประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น สำหรับสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้นี้ GIGABYTE ได้ทำงานเพื่อพัฒนาโซลูชันการระบายความร้อนขั้นสูงซึ่งรวมถึงการระบายความร้อนด้วยของเหลวโดยตรงและการระบายความร้อนด้วยการแช่แบบเฟสเดียว คลื่นลูกแรกของเซิร์ฟเวอร์สำหรับการระบายความร้อนด้วยการแช่แบบเฟสเดียวประกอบด้วยรุ่นต่างๆ จากซีรีส์ G292 ที่ใช้ GPU เป็นหลัก, ซีรีส์ H262 แบบหลายโหนด และซีรีส์ S251 ที่เน้นการจัดเก็บข้อมูล SKU เซิร์ฟเวอร์ใหม่เหล่านี้จัดทำขึ้นเพื่อให้พอดีกับถังแช่และของเหลวในถังด้วยเช่นกันการใช้งานในระบบทำความเย็นแบบแช่โดยเฉพาะ ซึ่งสะดวกสำหรับผู้ใช้ในผนวกการใช้งานเซิร์ฟเวอร์ระดับองค์กรเข้ากับถังระบายความร้อนได้อย่างรวดเร็ว และไม่จำเป็นต้องปรับแต่งหรือดัดแปลงผลิตภัณฑ์ใดๆ โมเดลซีรีส์ที่เลือกเป็นผลโดยตรงจากการสื่อสารกับลูกค้าของเราอย่างต่อเนื่อง และ SKU ที่เข้ากันได้ใหม่ทั้งหมดได้รับการแก้ไขเพื่อปรับให้เข้ากับข้อกำหนดของถังและของเหลวไดอิเล็กทริก มีการปรับเปลี่ยนบางอย่างรวมถึงการติดตั้งโครงยึดที่ด้านหลังของแชสซีเพื่อรองรับการติดตั้ง/การถอดเซิร์ฟเวอร์ออกในแนวตั้ง, การเปลี่ยนวัสดุบางอย่างที่เหมาะสมกับของเหลวที่ใช้ในระบบระบายความร้อนแบบแช่มากกว่า ,การถอดพัดลมและเซ็นเซอร์ทั้งหมดออก และอื่นๆ

GIGABYTE Server Models Compatible with Immersion Cooling Partners

SubmerGRCAsperitas
G292-Z45-ICU1
G292-Z45-ICM1
Yes Yes Yes
G292-Z43-ICU1
G292-Z43-ICM1
Yes Yes Yes
G292-280-IAY1
G292-280-IAP1
Yes Yes Yes
H262-Z6B-ICU1
H262-Z6B-ICP1
Yes1 Yes1 Coming soon
S251-3O0-IBC1
S251-3O0-IBH1
Yes2 Yes2 Coming soon
1: in tanks supporting server length of at least 850mm
2: in tanks supporting server length of at least 900mm

Specification of Compatible Tanks by Immersion Cooling Partners

SubmerGRCAsperitas
Model MicroPod SmartPodX SmartPodXL SmartPodXL+ ICEraQ Micro ICEraQ Flex (Std.) ICEraQ Flex (Deep) AIC24-21”
IT Hardware Capacity 6U 21U / 19OU 44U / 42OU 41U / 38OU 24U 52U 42U 24U
Max Server Length 800mm 800mm 800mm or 920mm 800mm or 920mm 820mm 812mm 965mm 825mm
Heat Dissipation Capacity 5-6.7kW 50kW 50kW 100kW 25-50kW3 100-200kW3 100-200kW3 44kW
3: depending on facility water temperature

“การลงทุนในเทคโนโลยีเกิดใหม่เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ซึ่งไม่เคยหยุดนิ่ง และเรายินดีเสมอที่จะพูดคุยกับพันธมิตรด้านเทคโนโลยีที่มีศักยภาพซึ่งเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมของพวกเขาเพื่อหารือเกี่ยวกับวิธีที่เราจะสามารถสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย” Vincent Wang รองประธานฝ่ายขายของ GIGABYTE กล่าว “ในกรณีของ Asperitas, GRC และ Submer พวกเขานำประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีถังทำความเย็นแบบแช่ ที่พิสูจน์แล้วมาร่วมกันกำหนดยุคใหม่ในการระบายความร้อนของศูนย์ข้อมูล”

"GIGABYTE เป็นผู้นำที่ได้รับการยอมรับในด้านเซิร์ฟเวอร์" Daniel Pope CEO และผู้ร่วมก่อตั้ง Submer กล่าว "กลุ่มผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์ที่เกิดจากเทคโนโลยีการระบายความร้อนแบบแช่นี้ทำให้ทุกคนที่ต้องการเริ่มใช้งานการระบายความร้อนวิธีนี้ด้วยสเกลขนาดใหญ่สบายใจได้ เซิร์ฟเวอร์ระดับไฮเอนด์และคุณภาพสูงได้รับการรองรับอย่างเต็มที่และรับประกันในการใช้งานจริง เป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าอุตสาหกรรมกำลังนำเทคโนโลยีมาใช้ในอัตราที่รวดเร็วอย่างยั่งยืนมาเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก"

Maikel Bouricius CCO ของ Asperitas ให้ความเห็นว่า "การวิจัยแสดงให้เห็นว่าตลาดสำหรับระบบระบายความร้อนแบบจุ่มคาดว่าจะมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยได้รับแรงหนุนจากความต้องการด้านความยั่งยืน ตลอดจน CPU และ GPU รุ่นต่อไปที่มีประสิทธิภาพสูง ฮาร์ดแวร์ที่ปรับให้เหมาะสมสำหรับการระบายความร้อนแบบแช่ได้ตอบสนองต่อวิวัฒนาการดังกล่าว ถังแช่ของ Asperitas ให้ประสิทธิภาพการระบายความร้อนที่จำเป็นโดยไม่จำเป็นต้องมีการหมุนเวียนแบบบังคับหรือแบบขับเคลื่อนด้วยปั๊ม ด้วยวิธีพาความร้อนตามธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้เป็นโซลูชันที่ประหยัดพลังงานที่สุด อีกทั้งยังรองรับการระบายความร้อนด้วยน้ำอุ่น ความร่วมมือระหว่าง GIGABYTE และ Asperitas มอบประสิทธิภาพที่ยั่งยืนที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว การติดตั้งร่วมกันที่ง่ายดาย และโซลูชันการทำความเย็นแบบแช่ที่ประหยัดพลังงานที่สุด โดยทั้งสองบริษัทจะยังคงทำงานร่วมกันในโครงการขนาดใหญทั้งในยุโรปและเอเชีย”

เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้เป็นพันธมิตรกับ GIGABYTE ในขณะที่พวกเขาดำเนินการเพื่อรับมือกับความท้าทายของศูนย์ข้อมูลรุ่นต่อไป” Peter Poulin CEO ของ GRC กล่าว “ศูนย์ข้อมูลทั่วโลกกำลังเผชิญกับความต้องการด้านการประมวลผลและความหนาแน่นที่เพิ่มขึ้น ข้อจำกัดด้านพลังงาน แรงกดดันด้านสิ่งแวดล้อม และข้อจำกัดด้านงบประมาณ—การระบายความร้อนด้วยของเหลวคือคำตอบสำหรับความท้าทายเหล่านี้”

Immersion cooling หรือการระบายความร้อนด้วยของเหลงแบบแช่เป็นเทคโนโลยีข้ามสายงานซึ่งรวมเอาศาสตร์ของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการระบายความร้อนขั้นสูงเข้าด้วยกัน เพื่อมอบโซลูชันที่ล้ำสมัย การสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ของ GIGABYTE กับพันธมิตรระบบระบายความร้อนเป็นองค์ประกอบสำคัญของความมุ่งมั่นในการนำเสนอโซลูชั่นที่ขับเคลื่อนด้วยประสิทธิภาพอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของ GIGABYTE และได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของศูนย์ข้อมูลทั่วโลกที่มีใจรักสิ่งแวดล้อม ด้วยความร่วมมือกับพันธมิตรเหล่านี้ GIGABYTE นำสามารถนำเสนอโซลูชั่นสำหรับลูกค้าทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นความช่วยเหลือด้านการขาย การสนับสนุนด้านเทคนิค หรือสถานที่ให้บริการ เซิร์ฟเวอร์ GIGABYTE เพื่อการระบายความร้อนแบบแช่ใหม่จะมีระยะเวลาการรับประกันแบบเดิมเป็นเวลาหนึ่งปี และสามารถติดต่อเกี่ยวกับการขยายการรับประกันกับฝ่ายขายได้

ส่งคำถาม: ติดต่อฝ่ายขาย

Contact Asperitas: https://www.asperitas.com/
Contact GRC: https://www.grcooling.com/
Contact Submer: https://submer.com/

ติดตาม GIGABYTE บน Twitter: twitter.com/GIGABYTEServer
ติดตาม GIGABYTE บน Facebook: facebook.com/gigabyteserver

{{AsideSubscribeInfo.buttonText}}